top of page

ซอฟต์แวร์ระบบ

       คือ ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง

      เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้

      ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่นๆ และรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษา

 

 

หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบ

 

      1. ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง

      2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก

      3. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล 

 

 

 

ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานแบ่งออกเป็น3 ประเภท

1. ระบบปฏิบัติการ

2.  ตัวแปลภาษา

3.  โปรแกรมอรรถประโยชน์

 

 

1.ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่าโอเอส

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1) ดอส (DOS : Disk operating System)

เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตออกมาพร้อมกับเครื่องพีซี ของไอบีเอ็มรุ่นแรก ๆ จากนั้นก็มีการพัฒนารุ่นใหม่ออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวอร์ชั่นสุดท้ายคือ เวอร์ชั่น 6.22 หลังจากที่มีการประกาศใช้วินโดวส์ 95 ก็คงจะไม่ผลิต DOS เวอร์ชั่นใหม่ออกมาแล้ว โดยทั่วไปจะนิยมใช้วินโดวส์ 3. xซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมเสริมชนิดหนึ่งที่ใช้ในดอส

2) ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft   Windows) ระบบปฏิบัติการนี้พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (user interface) แบบที่ เรียกว่า ระบบติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก หรือที่เรียกว่า จียูไอ (Graphical User Interface : GUI) คือ มีการแสดงผลเป็นรูปภาพ และใช้สัญลักษณ์ในรูปรายการเลือก (menu) หรือสัญรูป (icon) ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์แทนการพิมพ์คำสั่งทีละบรรทัด ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้น ทั้งยังมีสีสันที่ทำให้ซอฟต์แวร์น่าใช้งานมากขึ้น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์นี้เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงมากในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป 

3) ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช (Macintosh Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชเป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จในการทำงานแบบจียูไอ (GUI) ใน ปค.ศ. 1984 ของบริษัทแอปเปิล (Apple) ต่อมาได้มีการเปลี่ยนช่อเป็นระบบปฏิบัติการแมค โอเอส (Mac OS) โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X    ( Xคือ เลข 10 แบบโรมัน) เหมาะกับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยบริษัท  Apple  และมีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (multitasking) เหมาะกับงานประเภทสิ่งพิมพ์ กราฟิก และศิลปะเป็นหลัก

4) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux)

 เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมมา เช่นเดียวกัน พัฒนาขึ้นมาโดย ลินุสทอวาลดส์  (Linus  Toralds) ชาวฟินแลนด์ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับยูนิกซ์   แต่มีขนาดเล็กกว่าและทำงานได้เร็วกว่าในช่วงแรก เป็นการพัฒนาขึ้นมาเพ่อใช้ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเท่านั้นแต่ในช่วงหลังความนิยมในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายเพิ่มสูงขึ้น จึงมีผู้พัฒนาส่วนประกอบอื่น ๆ ของลินุกซ์เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานทางด้านเครือข่ายมากขึ้น

5)ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์  (Windows  Server)เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ  โดยรุ่นแรกออกมาในชื่อ Windows NT  และพัฒนามาเป็น  Windows2000  และรุ่นล่าสุด  คือ  Windows  Server2003  ผลิตมาเพื่อรองรับการใช้งานในระดับ องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง  พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์  ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย

6) ระบบปฏิบัติการปาล์ม (Palm OS)เป็นระบบปฏิบัติการที่ถือว่าเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับการนำเอาคอมพิวเตอร์แบบพกพา มาใช้ในยุคแรกๆ ที่เรียกว่าเครื่องปาล์ม พัฒนา ขึ้นโดยบริษัทปาล์ม  ซึ่งได้รับความนิยมอย่าง แพร่หลายในเวลาต่อมา ปัจจุบันอาจจะพบเห็นการนำเอาระบบนี้ไปใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ พกพาของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นนำ นอกเหนือไปจากเครื่องของบริษัทปาล์มด้วย เช่น Visor (ของบริษัทแฮนด์สปริงซึ่งปัจจุบันรวม กิจการเข้ากับบริษัทปาล์มไปแล้ว)

7) ระบบปฏิบัติการซิมเบียน (Symbian  OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทซิมเบียนออกแบบมาเพ่อรองรับเทคโนโลยีการส่อสารแบบไร้สาย (wireless) โดยเฉพาะกับโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟน(smart phone) นอกจากนั้นยังสนับสนุน การทำงานหลายๆ งานในเวลาเดียวกันอีกด้วยเช่น การบันทึกการนัดหมายเข้าเว็บไซต์ รับส่งอีเมล์ รวมถึงรับแฟกซ์ได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้โทรศัพท์มือถือมีความสามารถนอก เหนือจากรับสายพูดคุยในแบบทั่วไปเพียงอย่าง เดียว

2. ตัวแปลภาษา       

 

        Translation Program คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาที่ไม่ใช่ภาษาเครื่อง หรือภาษาเครื่องที่ไม่เข้าใจให้เป็นภาษาที่เครื่องสามารถรู้เรื่องเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ เช่น ภาษา BASIC, COBOL,C, PASCAL, FORTRAN, ASSEMBLY เป็นต้น สำหรับตัวแปลนั้นจะมี 3 แบบคือ

 

        1. คอมไพเลอร์ (Compiler) 

 

         เป็นตัวแปลภาษาระดับสูง เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาโคบอลและภาษาฟอร์แทรกให้เป็นภาษาเครื่อง การทำงานจะใช้หลักการแปลโปรแกรมต้นฉบับ ทั้งโปรแกรมเรียกใช้งาน ซึ่งจะถูกบันทึกไว้ในลักษณะของแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อต้องการเรียกใช้งานโปรแกรมก็สามารถเรียกจากไฟล์เรียกใช้งาน โดยไม่ต้องทำการแปลหรือคอมไพล์อีก ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่คอมไพล์โปรแกรมต้นฉบับที่เขียนขึ้นด้วยภาษาระดับสูง คอมไพเลอร์จะตรวจสอบโครงสร้างไวยากรณ์ของคำสั่งและข้อมูลที่จะใช้ในการคำนวณ และเปรียบเทียบต่อจากนั้นคอมไพเลอร์จะสร้างรายการข้อผิดพลาดของโปรแกรม (Program listing) เพื่อใช้เก็บโปรแกรมต้นฉบับและคำสั่งที่เขียนไม่ถูกต้องตามกฏ หรือโครงสร้างของภาษานั้น ๆ ไฟล์นั้นมีประโยชน์ในการช่วยโปรแกรมเมอร์ในการแก้ไขโปรแกรม (debug)

 

       2. อินเตอร์พรีเตอร์ (interpreter)

 

         เป็นตัวแปลระดับสูงเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์แต่จะแปลพร้อมกับทำงานตามคำสั่งทีละคำสั่งตลอดไปทั้งโปรแกรม    ทำให้การแก้ไขโปรแกรมกระทำได้ง่าย และรวดเร็ว การแปลโดยใช้อินเตอร์พรีเตอร์จะไม่สร้างโปรแกรมเรียกใช้งาน ดังนั้นจะต้องทำการแปลใหม่ทุกครั้งที่มีการเรียกใช้งาน ตัวอย่างภาษาที่ใช้ตัวแปลอินเตอร์พรีเตอร์ เช่น ภาษาเบสิก (BASIC)

 

       3. แอสเซมเบลอ (assembler)

 

         เป็นโปแกรมที่ใช้แปลภาษาแอสแซมบลี ซึ่งมีลักษณะการแปลทีละคำสั่ง เมื่อทำตามคำสั่งนั้นเสร็จแล้ว ก็จะแปลคำสั่งถัดไปเรื่อย ๆ จนจบ

 

 

 

 

 

 

            3.โปรแกรมอรรถประโยชน์

 

         เป็นโปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน หรือการจัดการคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการไฟล์ การบีบอัดไฟล์ การสำรองไฟล์ การจัดเรียงพื้นที่ดิสก์ การลบไฟล์ที่ไม่จำเป็น การป้องกันไวรัส

 

        1. โปรแกรมจัดการไฟล์ (file manager) ใช้จัดการไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ค้นหา คัดลอก เคลื่อนย้าย ลบ เปลี่ยนชื่อ ซึ่งการจัดการเหล่านี้สามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ตัวอย่างโปรแกรมจัดการไฟล์ เช่น Windows Explorer

 

        2. โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (file compression) ช่วยลดขนาดของไฟล์หรือกลุ่มของไฟล์ เพื่อประหยัดพื้นที่จัดเก็บ และสะดวกในการโอนย้ายไฟล์ ก่อนการใช้งานไฟล์ที่ถูกบีบอัดเข้ามาแล้ว จำเป็นต้องเปลี่ยนคืนสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนการบีบอัด จึงสามารถนำไปใช้งานได้ ตัวอย่างโปรแกรมบีบอัดไฟล์ เช่น WinZip, WinRAR

 

       3. โปรแกรมสำรองไฟล์(backup) ช่วยในการสำเนาไฟล์จากฮาร์ดดิสก์ไปเก็บไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลอื่น ในกรณีที่ฮาร์ดดิสก์หรือข้อมูลเกิดความเสียหาย ผู้ใช้สามารถกู้คืนข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลที่เป็นสำเนานั้นได้ และข้อมูลที่สำรองไว้นั้นควรเก็บรักษาไว้ในที่ที่ปลอดภัย ตัวอย่างโปรแกรมสำรองไฟล์เช่น Backup

 

      4. โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่ดิสก์(disk defragmenter) ช่วยจัดเรียงพื้นที่ว่าง ที่กระจายอยู่ในฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเกิดจากการสร้างและลบไฟล์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการเข้าถึงไฟล์ ซึ่งเดิมส่วนของไฟล์ดังกล่าวอาจเคยกระจัดกระจายอยู่ตามตำแหน่งต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์ โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่ดิสก์จะจัดเรียงส่วนของไฟล์เดียวกันให้อยู่ในพื้นที่ที่ต่อเนื่องกันให้มากที่สุด ตัวอย่างโปรแกรมจัดเรียงพื้นที่ดิสก์ เช่น Disk defragmenter

 

     5. โปรแกรมลบไฟล์ที่ไม่จำเป็น(disk cleanup) เป็นโปรแกรมที่ช่วยลบไฟล์หรือข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกจากฮาร์ดดิสก์ ตัวอย่างโปรแกรม เช่น Disk Cleanup

bottom of page